Pages

Subscribe:

กระดอม

กระดอม-สมุนไพรไทย
ชื่อทั่วไป                              ขี้กาดง(สระบุรี),ผักแคบป่า (น่าน) , มะนอยจา (เหนือ),มะนอยหก,
                                           มะนอยหกฟ้า(แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ                             (ข้อมูลไม่แน่ชัด)        
ชื่อวิทยาศาสตร์                    Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz.
วงศ์                                     CUCURBITACEAE

          เป็นไม้เถาเลื้อย มีมือเกาะ เหมือนมะระขีั้นก ใบเดี่ยว เรียงสลับ หลายรุปทรง ฐานเว้าลึก รูปหัวใจ ผิวสากคาย ดอกเดี่ยว แยกเพศต่ออยู่ต้นเดียวกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ ฐานเชือมต่อกัน กลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ออกตามง่ามใบ ผลขนาดเท่าผลสมอไทย หัวท้ายแหลม สะนสีอ่อน 10 สัน ตามแนวหัวท้ายเมื่อสุกสีแดงสด ผลแก่และผลสุกมีพิษห้ามรับประทาน การเก็บจะเก็บลูกอ่อนมาตากแห้ง เกิดอยู่ตามที่รกร้างในป่าเขาทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด


สรรพคุณสมุนไพร

ใบ          รสขม ตำคั้นเอาน้ำหยอดตา แกตาอักเสบ รับประทานแก้พิษของ ลูกสุก
              แก้พิษบาดทะยักกำเริบเพราะรักษาผิด
ลูก         ใช้ลูกอ่อนตากแห้ง รสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีอแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่งเพ้อ เจริญอาหาร ทำโลหิตให้
             เย็น ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก แก้ไข้รักษามดลูกหลังจากการแท้ง หรือคลอดบุตร แก้มดลูก
             อักเสบถอนพิษผิดสำแดง แก้พิษผลไม้บางชนิด
ราก        รสขมต้มรับประทานแก้ไข้ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษโลหิต เจริญอาหาร บดผสมน้ำร้อน
              ทาถูกนวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอ่อนล้า

กระดังงา-กระดังงาสงขลา

กระดังงา-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                          กระดังงาไทย,กระดังงาใหญ,สะบันงา(เหนือ)
ชื่อสามัญ                         Perfume Tree, Llang-Llang, Ylang Ylang, Kennanga
ชื่อวิทยาศาสตร์                annaga odorata (Lam.) Hooker f. & Thoms.
วงศ์                                ANNONACEAE
       
            เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยง ใบคล้ายใบของต้นเล็บมือนาง สีเขียวอ่อนบางนิ่มปลายแหลมโคนมนกลม ดอกเป็นกลีบยาวอ่อนมี 6 กลีบ ขอบหยักเป็นคลื่น กลีบชั้นในสั้น ดอกอ่อนสีเขียว แก่จะเป็นสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมฉุน ขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือกิ่งตอน
สีเหลืองมีกลืิ่นหอมและเป็นสมุนไพรชั้นดี

สรรพคุณสมุนไพร


เปลือกต้น          รสฝาดเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ท้องเสีย
เนื้อไม้               รสขมเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
ดอก                  รสหอมสุขุม บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ
น้ำมันหอม          ใช้ปรุงน้ำหอมชั้นสูงทีมีราคาแพง ใช้ปรุงขนมหรืออาหาร




กระดังงาสงขลา-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                         กระดังงาสงขลา,กระดังงาเบา,กระดังงา(ใต้)
ชื่อสามัญ                        (ข้อมูลไม่แน่ชัด)
ชื่อวิทยาศาสตร์               Cannangium fruticosum E.J.H Corner.
วงศ์                                ANNONACEAE
         
              เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 6 ฟุต ลักษณะต้น ดอก ใบ เหมือนกระดังงาไทย แต่ต้นเล็กกว่า ดอกมีกลับมากกว่า กลีบยาวและบิดมากกว่ากระดังงาไทย ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและกิ่งตอน


สรรพคุณสมุนไพร


ดอก          รสสุขุมหอม บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน
เนื้อไม้       รสขมเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ

กระชาย

กระชาย-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                          หัวละแอน (เหนือ) , ขิงแดง, ขิงทราย(อีสาน)
ชื่อสามัญ                         (ข้อมูลไม่แน่ชัด)
ชื่อวิทยาศาสตร์                Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.,Gastrochilus panderata (Roxb.) Ridl.,
                                      Kaempferia pandurata Roxb.
วงศ์                                ZINGIBERACEAE
       
              เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-3 ฟุต มีกาบใบหุ้มลำต้นตลอด ใบมีกลิ่นหอม ดอกช่อ สีม่วงแดง มีเหง้า มีรากเก็บอาหารแยกเป้นกระเปาะจากเหง้า เรียกว่ากระโปก หรือ นมกระชาย กระชายมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ กระชายเหลือง ขยายพันธุ์ โดนการแนกหน่อ
รากกระชายนำมาเป็ยยาบำรุงและสมุนไพรได้เช่นกัน

สรรพคุณสมุนไพร

เหง้า                    รสเผ็ดร้อนขม แก้โรคอันเกิดในปาก แก้มุตกิด แก้ลมบังเกิดแก่กองหทัยวาต แก้ปาก
                          เปื่อย ปากแตก เป็นแผล ขับระดูขาว แก้ใจสั่น แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิดมูกเลือด
                          แก้ปวดเบ่ง รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ บำรุงกำลัง
ราก                    (นมกระชาย) รสเผ็ดร้อนขม แก้กามตายด้าน ทำให้กระชุ่มกระชวน บำรุงความกำหนัด
                          มีสรรพคุณคล้ายโสม

กระชับ

ต้นกระชับ-สมุนไพรไทย

ชื่อทั่วไป                  หญ้าผมยุ่ง (เชียงใหม่),ขี้อ้น (เหนือ,อีสาน) เกี่ยงนา มะขะนัดน้ำ(เหนือ),
                               ขี้ครอก(ราชบุรี),ขี้อ้นน้ำ(นครพนม),ขี้อันดอน(เลย),ซักบ้อเช้า(จีน)
ชื่อสามัญ                 Cocklebur,Burweed
ชื่อวิทยาศาสตร์         Xanthium strumarium Linn., X . chinense Mill., X.indicum Koen.
วงศ์                         COMPOSITAE

          เป็นไม้ล้มลุกสูงประมาณ 1 ม. กิ่งก้านมีขนขึ้นประปราย ใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยมจักเว้าลึก ริมจักเป็นฟันปบาผิวสาก ก้านยาว ดอกเล็กออกเป็นช่ออัดแน่น ดอกตัวผู้ ออกที่ปลายยอด ดอกตัวเมีย ออกเป็นช่อๆ ละ สองดอกที่ง่ามใบ ผลรูปไข่มีหนามนุ่มปลายโค้งสำหรับเกาะติดอยู่โดยรอบ เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่าริมทะเลหรือริมตลิ่ง ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
กระชับต้นไม่สูงใหญ่ มีผลเป็นยาได้

สรรพคุณสมุนไพร
ต้น                      รสเย้นเฝื่อน แก้ไข้จับสั่น ขับเหงื่อ ขับน้ำลาย ระงับประสาท แก้ไขข้ออักเสบ แก้ปวด
                          ประจำเดือน แก้มุดเกิด แก้โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้กระเพาะอักเสบ แก้ปวด
                           กล้ามเนื้อรักษารโรคหิด แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย แก้หวัด แก้ปวดศรีษะ ปวดหู ตำพอก
                           แผลแก้ปวดบวม ต้มเอาน้ำล้างอผล ฆาเชื้อโรคบาดแผล
ใบ                       รสเย็นเฝื่อน แก้โรคเกี่ยวกับต่อมน้ำเหลือง เริม งูสวัด พอกแก้ปวดบวม แก้พิษแมลงกัด
                          ต่อย สมานแผล ห้ามเลือด ดับพิษร้อน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ
ราก                     รสขมเย็น เจริญอาหาร แก้วัณโรคต่อมน้ำเหลือง และ มะเร็ง สมานแผล ห้ามเลือด ดิบ
                          พิษร้อน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ
ผล                     รสเย็นเฝื่อน แก้ไข้ทรพิษ บำรุงกำลัง แก้ริดสีดวงจมูก ระงับการเกร็งของกล้ามเนื้อ แก้
                          ปวดในโรคไจจ้ออักเสบ แก้อัมพาต แก้ลมพิษ แก้โรคท้องมาน ขับเหงื่อ แก้ร้อนใน
                          เมล็ด  รสเฝือน แก้โรคเรื้อน
ใบกระชับที่หลังบ้าน

กระเช้าสีดา

กระเช้าสีดา-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                        กระเช้าสีดา
ชื่อสามัญ                       (ข้อมูลไม่แน่ชัด)
ชื่อวิทยาศาสตร์              Aristolochia indica Linn.
วงศ์                               ARISTOLOCHIACEAE
           
            เป็นไม้เถาเนื้อแข็งกิงยาวเรียวเป็นร่อง ใบเดี่ยวรูปหัวใจ ปลายเรียวแหลม โคนตรงขอบเรียบ ยาว5-10 ซม. ดอกออกเป็นช่อ ช่อละ 2-3 ดอก ทีง่ามใบ ฐานดอกเป็นกระเปาะกลมมีท่อสีเขียวยาวออกไปปลายบานเป็นกลีบเดียว พื้นด้านบนสีน้ำตาลอมเขียวขอบสีม่วงดำ ด้านล่างสีม่วงดำ ยาว3-4 ซม. ผลทรงกลม ยาว4-5 ซม. เมื่อแกเป็นสีน้ำตาลอ่อน จะแตกออกเป็น 6 พู มีสายห้อย 6 เส้น เมล็ดแบนรูปไขมีปีก เกิดตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ขยายพันธุ์โดยเมล็ด
กระเช้าสีดาเป็นเถาไม่เลี้อย
สรรพคุณสมุนไพร

ใบ                   ใบสด ตำคั้นเอาน้ำกินและพอก แก้พิษงู
ราก                  รสเผ็ดร้อน ขับลม ขับลมในลำไส้สำหรับทารกแรกเกิด ทำให้ระดูมาตามปกติ
                       บำรุงร่างกาย และ เป็นยากระตุ้นกินมากทำฝห้อาเจียน

สามารถนำมาทำยาได้ทั้งใบและราก

กระเจี๊ยบมอญ

กระเจี๊ยบมอญ-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                   กระเจี๊ยบขาว,กระเจี๊ยบ,มะเขือมอญ,มะเขือทะวาย,มะเขือพม่า,มะเขือละโว้,มะเขือมื่น
ชื่อสามัญ                  Okra,Lady's finger,Gumbo
ชื่อวิทยาศาสตร์         abelmoschus esculentus (L) Moench.
วงศ์                          MALVACEAE
         
            เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 1-2 ม. ใบโตหยักลึก มีขนคลุม ดอกสีเหลืองโต ลูกกลมยาว โคนตรงปลายแหลม เป็นจีบมีขนรอบ ผลเมื่อแก่จะแตกออกเห็น เมล็ดกลม สีดำ ปลูกได้ในประเทศเขตร้อนทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ลูกกระเจี๊ยบมอญทำเป็นยาสมุนไพรได้เช่นกัน

สรรพคุณสมุนไพร
ผล                            รสหวานเย็น บดเป็นผง ชงน้ำร้อน หรือปั้นเม็ด รับประทานรักษาแผลใน
                                กระเพาะอาหาร

ต้นกระเจี๊ยบมอญเป็นสมุนไพรไทยที่สามารถปลูกเองได้ขึ้นง่าย

กระเจีียบ

ลูกกระเจี๊ยบ-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                   กระเจี๊ยบแดง,ส้มพอเหมาะ,ส้มเก็ง (เหนือ),ส้มปู (เงี้ยว) , ส้มพอดี (อีสาน)
ชื่อสามัญ                  Jamaican Sorrel,Rosella
ชื่อวิทยาศาสตร์         Hibiscus sabdariffa Linn.
วงศ์                          MALVACEAE
         
              เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ลำต้น กิ่งก้านใบ มีสีแดงเข้ม ใบเว้าลึก 3 หยัก ดอกสีเหลือง กลางดอกสีแดง กลีบเลี้ยงสีแดง กลีบเลี้ยงสีแดงหนา รสเปรี้ยว ผลยาวปลาย แหลมมีจีบตามยาว ถิ่นกำเนิดในอินเดียและมาเลเซีย สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อนทั่วไป โดยใช้เมล็ด

ต้นกระเจี๊ยบและลูกใช้เป็นสมุนไพร

สรรพคุณสมุนไพร

ใบ                     รสเปรี้ยว รับประทาน กัดเสมหะ ทำให้โลหิตไหลเวียนดี ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ
                         ตำพอกฝี ต้มชะบาดแผล
กลีบเลี้ยง           (ภาษาการค้า เรียก ดอกกระเจี๊ยบ) รสเปรี้ยว ขับปัสสาวะแก้เสมหะขับน้ำดี ลดไข้
                         แก้ไอ ขับนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แก้กระหายน้ำ ขับเมือกมันให้ลงสู่ทวารหนัก
เมล็ด                 รสเมา ขับเหงื่อ ลดไขมันในโลหิต บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ ขับน้ำดี ขับปัสสาวะแก้โรค
                         ปัสวะอักเสบเป็นยาระบาย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศทั้ง 5 แก้พยาธิตัวจี๊ด
                         ขับเมือกมันให้ลงสู่ทวารหนัก
ผล                    รสจืด แก้ออนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ลดไขมันในโลหิต แก้กระหายน้ำ รักษาแผล
                         ในกระเพาะอาหาร

ดอกกระเจี๊ยบสีขาวเป็นสมุนไพรได้เช่นกัน

กระจับนก

กระจับนก-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                   มะดะ(เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ                  (ข้อมูลไม่แน่ชัด)
ชื่อวิทยาศาสตร์         Euonymus cochinchinensis Pirre CELASTRACEAE
         
             เป็นต้นไม้ขนาดเล็ก  ต้นเล็กเรียวสูงประมาณ 12 ม.  กิ่้งก้านรูปทรงกระบอก สีเขียว และน้ำตาลอมแดง ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันรูปไข่หรือขอบขนาน ปลายและโคนแหลมขอบเรียบหรือจักห่างๆ กว้าง 1-2 นิ้ว ยาว2-6 นิ้ว ก้านใบสั้น ดอกสีเหลืองแกมเขียว ออกเป็นช่อ ตามง่ามใบ กลีบดอกรูปไข่กลับ 5 กลีบ ยาวประมาณ 5มม. ขอบหยัก ผลรูปไข่กลับ เป็นสันจักเป็นพูลึก 5 พู ปลายนูน เมล็ดรูปกลมรี ขึ้นตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป ขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด
กระจับนกยาสมุนไพรดองสุรา บำรุงกำลัง

สรรพคุณสมุนไพร
เปลือกต้น                 รสฝาดขมดองสุรา ดื่ม เจริญอาหาร

กล้วย

กล้วย-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                รวมถึง กล้วยน้ำว้า,กล้วยตีบ,กล้วยไข่,กล้วยหอม,กล้วยป่า,กล้วยครก
ชื่อสามัญ               Banana
ชื่อวิทยาศาสตร์      Musa sapientum Linn., paradisaca Linn.
วงศ์                       MUSACEAE

            เป็นไม้ล้มลุก ใบเป็นแผ่นยาวเส้นใบขนานกัน ดอกเป็นช่อดเรียกหัวปลี ผลเป็นหวีติดตอกันเป็นเครือ ต้นหนึ่งๆจะออกผลครั้งเดียวแล้วตายไป ปลูกได้ทั่วไปในประเทศเขตร้อน ขยายพันธุ์โดยแยกหน่อ กล้วยป่าบางชนิดไม่มีหน่อต้องใช้เมล็ดกล้วยป่าส่วนใหญ่มีเมล็ดมาก
ต้นกล้วย สามารถนำมาเป็นยาสมุนไพรได้ทั้งต้น


สรรพคุณสมุนไพร

ยาง                      รสฝาด สมานแผล ห้ามเลือด
ผลดิบ                  รสฝาด ทั้งเปลือก หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ชงน้ำร้อนหรือปั้นเม็ดรับประทาน รักษาฃ
                           แผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสียเรื้อรัง ซึ่งทำให้อาหารไม่ย่อย ผงกล้วยดิบทั้ง
                           เปลือก ใช้โรยรักษาแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ
ผลสุก                  รสหวาน ระบายอุจจาระ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
                           เปลือกลูกดิบ  รสฝาด สมานแผล เปลือกกล้วยหอมสุก เอาด้านในทาแก้เส้นเท้าแตก
หัวปลี                  รสฝาด แก้โรคกระเพาะอาหารลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเลือด รักษา
                           โรคเบาหวาน
น้ำคั้นจากหัวปลี    รับประทาน แก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิต
ใบ                       รสเย็นจืด ปิ้งไฟปิดแผลไฟไหม้ ต้มอาบแก้เม็ดผด ผื่นคัน
ราก                     รสฝาดเย็นต้มดื่ม แก้ไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้ไข้ท้องเสีย แก้บิด แก้ผื่นคัน สมานภายใน
หยวก                   รสฝาดเย็น เผาไฟรับประทาน ขับพยาธิ
เหง้า                    รสฝาดเย็น ปรุงยาแก้ริดสีดวงทวาร ชนิดมีเลือดออก หรือแผลภายในซ่องทวาร

ลูกกล้วย-Banana

กระจับ-กระจับเขา

ต้นกระจับ-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                 กระจับ,มาแง่ง
ชื่อสามัญ                Water chestnut, Water caltrops
ชื่อวิทยาศาสตร์       Trapa bispinosa Roxb.
วงศ์                        ONAGRACEAE
       
            เป็นไม้น้ำ ใบแตกออกรอบเหง้าเป็นรูปวงกลม ใบรูปจักร สีเขียววอมดำแดง ลอยอยู่ตามผิวน้ำ ผลเป็นฝักรูปคล้ายหัวกระบือมีเขาโง้งสองข้างเนื้อในสีขาวเกิดตามแหล่งน้ำจืดนิ่งๆทั่วไป ขยายพันธุ์ โดย ฝัก หรือ แยกหน่อ

ผลกระจับทำยาได้และเป็นสมุนไพรด้วย


สรรพคุณสมุนไพร

ใบ          รสเปรี้ยว กัด เสมหะ แก้ไอ ขับเมือก มันใน ลำไส้ให้ลงสู่คูถทวาร
เนื้อในฝัก  รสมันหอมหวาน ชูกำลัง บำรุงทารกในครรภ์ แก้อ่อนเพลีย บำรุงร่างกายหลังพื้นไข้





กระจับเขา-สมุนไพรไทย

ชื่อทั่วไป                     กระจับเขา
ชื่อสามัญ                    (ข้อมูลแน่ชัด)
ชื่อวิทยาศาสตร์           Hedera himalaica Tobler. ARALIACEAE
         
             เป็นไม้เถาเลื้อยตามพื้นดิน ใช้รากที่งอกออกตามเถาเกาะ ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปสามเหลี่ยม และ แฉกแหลม 3 แฉก ขอบเรียบ เส้นใบออกจากฐาน 3-7 เส้น ดอกช่อ คล้ายดอกผักชี ผลกลม ภายในมี 5 ช่อง เมล็ดรูปไข่ เกิดตามที่รกร้างว่างเปลล่าในป่าแล้งทั่วไป ขยายพันธุ์โดยเมล็ด

สรรพคุณสมุนไพร
ราก          รสเฝื่อน ถอนพิษ แก้พิษตะขาบ แก้งฝีบวม


กลอย

กรอย-สมุนไพรไทย

ชื่อทั่วไป                 กลอยข้าวเหนียว (อีสาน), กอยนก (เหนือ)
ชื่อสามัญ                (ไม่มีข้อมูล)
ชื่อวิทยาศาสตร์        Dioscorea hispida Dennst He.
วงศ์                        DIOSCOREACEAE
         

              เป็นไม้จำพวกหัว  ต้นเป็นเถาเลื้้อยไปตามดิน หรือ พาดพ้นต้นไม้อื่นใบย่อย 3 ใบ คล้ายถั่ว มีหนามแหลมตลอดเถา ดอกเล็กๆสีเขียวอ่อน เป็นชอระย้า เกิดตามป่าชื้นทั่วไป ขยายพันธุ์โดยแยกหน่อ

หัวกลอยที่ขุดแล้วเป็นสมุนไพรไทยอย่างหนึ่ง

สรรพคุณสมุนไพร

หัว        รสมาเบื่อ กัดเถาดานในท้อง หุงเป็นน้ำมันใส่แผลกัดฝ้ากัดหนอง

รูปกลอย ทั้งใบและลำต้น ลักษะเป็นเถา 

กรวยป่า

กรวยป่า-สมุนไพรไทย


ชื่อทัวไป                 สีเสื้อหลวง,ก้วย (เหนือ),ขุนเหยิง(สกลนคร), คอแลน(อีสาน), ตวย (เพชรบุรี),
                             หมากผ่าสาม (นครพนม,อุดรธานี)
ชื่อสามัญ                (ไม่มีข้อมูล)
ชื่อวิทยาศาสตร์       Casearia grewiaefolia Vent.
วงศ์                        FLACOURTIACEAE
         
             เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ใบเดี่่ยวรูปไข่ยาวหนาสีเขียวเข้ม ผลสุกคล้ายผลมทะไฟ มีรอยแตกกลางผล พบตามป่าดงดิบและ ป่าเบญจพรรณ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
กิ่งก้านกรวยป่าทำยาได้

สรรพคุณสมุนไพร

ใบ           รสเมาเบื่อ แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ริดสีดวงจมูก แก้บาดแผล
ดอก         รสเมา แก้ไข้พิษ ไข้กาฬ
เมล็ด        รสเมาเบื่อ แก้ริดสีดวง ใช้เบื่อปลา
ราก          รสเมาขื่น แก้ท้องร่วง แก้ตับพิการ แก้พิษกาฬ แก้ผื่นคัน แก้ริดสีดวงต่างๆรสเมาขื่น
                บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง

ลูกกรวยป่าใช้จำนวนมากเป็นยาเบื่อปลาได้เหมือนกัน

กราย

ต้นกราย-สมุนไพรไทย
ชื่อทั่วไป                       ขี้อาย (เหนือ), หางกราย, หนามกราย(โคราช), แนอาม(เหนือ),
                                    ตานแดง(ใต้), แสนคำ (อีสาน)
ชื่อสามัญ                       Terminalia triptera Stapf.
ชื่อวิทยาศาสตร์              (ข้อมูลไมแน่ชัด)
วงศ์                              COMBRETACEAE

          เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยว สีเขียวดกทึบ ดอกเป็นช่อ อยู่ปลายกิ่ง  เกิดตามป่าดงดิบและป่าเบญพรรณทั่วไปในภาคกลาง,อีสานและเหนือ ขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือตอนกิ่ง
ลูกกรายป่า มีประโยชน์มาก


สรรพคุณสมุนไพร

เปลือกต้น                      รสฝาด กล่อมเสมหะ กล่อมอาจม คุมธาตุ แก้อุจจาระเป็นฟอง สมานบาดแผล
ลูก                                รสฝาด แก้บิด ปวดเบ่ง เสมหะเป็๋นพิษ แก้ท้องเดิน

กรรณิการ์

กรรณิการ์-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                    กันลิกา
ชื่อสามัญ                   Night Jasmine, Night Blooming Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์          Nyctanthes abor-tristis Linn.
วงศ์                           VERBENACEAE
         
            เป็นไม้พุ่ม ใบเดี่ยวหนาค่อนข้างแข็ง ปลายแหลม หยาบ ดอกเป็นช่อ คล้ายดอกพุดฝรั่ง มี 5-7 กลีบ สีขาว ก้านดอกสีแดงหรือส้ม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ขยายพันธุ์โดยการปักชำ

ดอกสีขาวของกรรณิการ์-สมุนไพรไทย
สรรพคุณสมุนไพร
ต้น          รสขมเย็นหวานฝาด แก้ปวดศรีษะ แก้ปวดข้อ แก้ไข้
เปลือก     รสขมเย็น  ใช้เปลือกต้นชั้นใน ต้มดื่้มแก้ปวดศรีษะ
ดอก        รสขมหวาน แก้ไข้ แก้ลมวิงเวียน
ใบ           รสขม บำรุงน้ำดี เจริญอาหาร แก้ตานขโมย แก้ปวดข้อ แก้ไข
ราก          รสขมหวานฝาด แก้ท้องผูก ยำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงเส้นผม แก้ผมหงอก บำรุงผิวหนังให้สดชื่น แก้ลมและดี แก้พรรดึก แก้ไอ

กรรณิการ์-สวยงานและมีประโยชน์

กรดน้ำ

กรดน้ำ-สมุนไพรไทย
ชื่อทัวไป                       ขัดมอนเล็ก,กัญชาป่า,กระต่ายจามใหญ่,มะไฟเดือนห้า,เทียนนา (จันทบุรี)
                                    ขัดมอนเทศ (ตรัง) , หญ้าหัวแมงฮุน,หญ้าจ้าดตู้ด (เหนือ) , ตานซาน (ปัตตานี)
                                    หูปลาช่อนตัวผู้ (ตราด) , เอี่ยกำเช้า(จีนแต้จิ๋ว) , หญ้าพ่ำสามวัน (ฉาน) ,
                                    แหย่กานฉ่าน (จีนกลาง)
ชื่อสามัญ                       Sweet Broonweed,Macao Tea
ชื่อวิทนาศาสตร์              Scriparia dulcis Linn.
วงศ์                               SCROPHULARIACEAE

     เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กสูง 25 - 80 ซม.  ใบเดี่ยวรูปไข่ เล็กยาว 2-5 ซม. สีเขียวเข้ม ขอบหยักฟันเลื่อย ออกตรงข้ามกัน เป็นเกลียวรอบกิ่ง ดอกเดี่ยวเล็ก สีขาว กลีบเลี้ยง 4 กลีบ ผลกลม เมื่อแห้งจะแตกออกขึ้นตามที่รกร้างว่างเปล่าทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

ดอกกรดน้ำสวยงามและมีประโยชน์
สรรพคุณสมุนไพร

ใบ                 รสฝาด ขับระดูขาว แก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ บำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้ปวดฟัน
ต้น                รสฝาด แก้ไอ แก้ไข้ แก้ท้องเสีย แก้ปวดท้อง แก้ลำไส้อักเสบ แก้ผื่นคัน แก้ขัดเบา ลด
                     อาการบวมน้ำ แก้เหงือกบวม แก้ปากเปื่อย
ลูก                 รสฝาดมา ขับพยาธิไส้เดือนง
ราก                รสฝาด ขับปัสสาวะ แก้ไข้ แก้ปวดศีรษะ แก้โรคเบาหวาน แก้ผื่่นคัน สมานลำไส้ แก้บิด
                     แก้ท้องร่วง แก้จุกเสียด

กฤษณา

ดอกกฤษณา-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                   เนื้อไม้,ไม้หอม,กายูกาฮู,กายูการู (ปัตตานี )
ชื่อสามัญ                  Aloe Wood, Agarwood, Eagle Wood,Akyaw,Aaglia, Calambac
ชื่อวิทยาศาสตร์         Aquilaria agallocha Roxb.
วงศ์                         THYMELAEACEAE

         เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เนื้อไม้หยาบอ่อน สีขาวมีเสี้ยน ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม เรียบเป็นมัน ดอกช่อเล็กๆออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบดอกย่อย มี 5 กลีบสีเหลืองอมขาวดก กลิ่นหอนฉุน ผลแบนรูปรี เกิดอยู่ตามป่าดงดิบชื้น มีมากทางภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี,ตราด,สระแก้ว
          ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด นำเมล็ดที่เก็บมาใหม่ๆเพาะในกระบะทรายโดยเอาหัวขึ้น รดน้ำเช้า-เย็น เมล็ดจะงอกใน 1-2 สัปดาห์ การงอกของเมล็ดตะงอกได้ดีเมื่อเพาะหลังเก็บมาไม่เกิน 1 สัปดาห์ และจะลดลงไปเรื่อยๆ อาจไม่งอกเลย ในระยะ 1 เดือน เมื่อกล้าไม้โตพอควร จึงย้ายลงถุงย้ายไปไว้ในเรือนเพาะชำที่มีแดดรำไร เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้วย้ายไปปลูก หรือเปลี่ยนถุงชำตามขนาดของเกล้า เก็บไว้ปลูก การปลูกจะต้องเตรียมดินให้สามารถรักษาความชื้นไว้ได้ดี เพราะกฤษณา เป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้นแต่ไม่แฉะ ระยะต้นห่างกันประมาณ 2-4 เมตร และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
ต้นกล้ากฤษณา-สมุนไพรไทย
          ปัจจุบันมีสวนเกษตรของเอกชน ทำการเพาะกล้าไม้กฤษณาขาย ราคา ตั้งแต่ 25-300 บาท ตามขนาดกล้า ไม้กฤษณาในปัจจุบันในประเทศมีน้อยมาก ต้องนำเข้ามาจากเขมร,ลาว,เวียดนาม กฤษณาที่ใช้ปรุงยากันถ้าอย่างดีก็มีแก่นสารสีเข้มติดบ้างเล็กน้อยเท่านั้นเพราะเนื้อไม้หอมที่มีสีน้ำตาลเข้มถึงดำกลิ่นหอมนั้นราคากิโลกรัมละ หลายหมื่นบาทเราส่งนอกหมด เนื้อไม้หอมเกิดจาก การที่ต้นกฤษณาได้รับบาดเจ็บ อาจเกิดจากแมลงหรือการตัดฟัน ทำให้มีการขับสารน้ำมันหอมออกมาพอกตรงรอยบาดแผลเมื่อนานเข้าจะหนาขึ้นไปเรื่อยๆทำให้เปลี่ยนจากเนื้อไม้ที่เบา หนักมากขึ้น บางต้นเกิดเป็นแท่งใหญ่บางต้นไม่มีเลย ต้นกฤษณาตามธรรมชาติ ไม่ได้ให้เนื้อไม้หอมเหมือนกันทุกต้น สมัยก่อนมีการตัดฟันต้นกฤษณา ทิ้งไว้ค้างปี เนื้อไม้ผุจะมาเก็บหาเนื้อไม้หอมไปขาย ชาวฮินดูนิยมนำมาจุดไฟให้กลิ่นหอม


ลำต้นกฤษณาใช้ประโยชน์ได้เยอะเป็นยาอย่างดี


สรรพคุณสมุนไพร

เนื้อไม้             รสหอมสุขุม บำรุงโลหิต แก้ตับปอดพิการ แก้ไข้เพื่อเสมหะและลม แก้ลมวิงเวียน
                      บำรุงโลหิตในหัวใจ ทำให้หัวใจชุ่มชื้น แก้ปวดข้อ ต้มดื่มแก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ปรุง
                      เป็นยาบำรุงและรักษาโรคหัวใจ โรคลม
นำมากลั่น        จะได้น้ำมันหอม เรียกว่า Agar-atar และ Chuwah

ก้นบึ้งน้อย- ก้นปิด

ก้นบึ้งน้อย-สมุนไพรไทย
                                                


ชื่อทั่วไป               ก้นบึ้งน้อย
ชื่อสามัญ              (ข้อมูลไม่แน่ชัด)
ชื่อวิทยาศาสตร์     Lepede parviflora Kurz.
วงศ์                      FABACEAE
           เป็นไม้ล้มลุก อายุปีเดียว สูงประมาณ 30-60 ซม. ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับก้น ใบย่อยสามใบ รูปวงรียาวประมาณ 2 นิ้ว ปลายและโคนแหลม ขอบเรียว ดอกช่อเหมือนดอกถั่ว กลีบสีชมพู ออกที่ปลายกิ่ง ผลเป็นฝึกแบบรูปไข่ปลายและโคนแหลม เกิดอยู่ตามป่าดงดิบและป้าเบญพรรณทางภาคกลาง เหนือ และอีสาน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณสมุนไพร
ราก                       รสจืดเย็น ต้มดื่่น แก้ไข้ แก้ร้อนใน

ก้นปิด-สมุนไพรไทย
ชื่อทั่วไป                    ก้นปิด , ใบก้นปิด (ทั่วไป), ปั้งปอน (เชียงใหม่)
ชื่อสามัญ                   (ข้อมูลไม่แน่ชัด)
ชื่อวิทยาศาสตร์          Stepharia hernandifolia (Willd.) Walp.
วงศ์                           MENISPERMACEAE
         
             เป็นไม้เถาไม่มีมือจับ ใบเดี่ยวรูปไข่ปลายแหลม ฐานกลมปิดก้านใบ คล้ายใบกรุงเขมาแต่ไม่มีขน นิ่มไม่ฉ่ำน้ำ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกต้นกัน ดอกมีขนาดเล็ก ก้านสั้น ออกเป็นช่อทรงก้านร่ม ผลรูปไข่ เมล็ดรูปครึ่งวงกลม เป็นพืชที่พบในป่าและชนบทเขตร้อนทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณสมุนไพร


ราก                         รสฝาดขม แก้ไข้ แก้ไข้ท้องเสีย แก้ธาตุไม่ปกติ แก้โรคเกี่่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
สารสำคัญ                รากและเหง้า มีแอลคาลอยค์ มีแอลคาลอยค์ พวก dl-tetrandrine
                              d-tetrandrine.d-isochondodendrine & fagchinoline มีสาร steroid

เถาก้นปิดมีขนบางๆ

ก้นจ้ำ-ก้นจ้ำขาว

ก้นจ้ำ-สมุนไพรไทย
ชื่อทั่วไป              ก้นจ้ำ
ชื่อสามัญ             Spanish Needles
ชือวิทยาศาสตร์    Bidens biternata (Lour.) Merr. & Sherff ex Sherff.
วงศ์                    COMPOSTAE
       
             เป็นพืชล้มลุก สูง 1-2 ม. ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีขนประปรายใบประกอบ ใบย้อยรูปไข่ปลายเรียวแหลมโคนสอบ ขอบขยักฟันปลา ผิวมีขนบางๆ ทั้งสองข้าง ดอกเป็นกระจุก สีเหลือง กลีบเป็นฝอย ก้านดอกแข็ง ยาวประมาณ 5-10 ซม. ผลยาว ปลายมีรยางค์ 2- 5 อัน ผิวมีขนสั้นๆ ขึ้นอยู่ตามริมสวนไร่นาทั่วไป ขยายพันธุ์โดยชำเมล็ด

สรรพคุณสมุนไพร
ใบ           รสจืดเย็น ใบสด ตำคั้นเอาน้ำหยอดตา แก้ตามัว ตำพอกแผลสด แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

ก้นจ้ำขาว-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป             ก้นจ้ำขาว,ปีกนกไส้ (เหนือ) กี่นกไส้, หญ้าก้นจ้ำขาว (สระบุรี)
ชื่อสามัญ            (ขออภัยข้อมูลไม่แน่ชัด)
ชื่อวิทยาศาสตร์    Biswna piloa linn.
วงศ์                    COMPOSITAE

          เป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 50 ซม. ไม่มีขน ใบประกอบเป็นช่อย่อยเดียว มีใบย่อยรูปไข่ ปลายแหลมโคนสอบ ใบยอดใหญ่กว่าใบอื่นๆ ยาว 6-12 ซม. ขอบจักฟันเรียบ ดอกสีขาวครีม เป็นกระจุก 7-8 ซม. ออกเป็นช่อตามง่ามใบวก้านช่อยาว 3-10 ซม. ผลยาว 7-8 มม.สีดำ ขึ้นอยู่อยู่ทั่วไปตามริมทางสวนไร่นา ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณสมุนไพร
ใบ              รสจืดเย็น ดับพืษ ห้ามเลือด สมานบาดแผล รักษาแผลเน่าเปื่อย บวม ตำพอกตา
                 แก้ตาอักเสบ คั้นเอาน้ำหยอดหู แก้ปวดหู ใบอ่อนเคี้ยวแก้ปวดฟัน
ทั้งต้น        รสจืดเย็น ต้มดื่มแก้ไอ แก้ไขข้ออักเสบ แก้ท้องร่วง แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง


ก้นจ้ำขาว-ปีกนกใส้

กกลังกา

หญ้ากกลังกา-สมุนไพรไทย

ชื่อทั่วไป             กกรังกา,กกต้นกลม,กกขนาก,กกดอกแดง
ชื่อสามัญ            Umbrella Plant
ชือวิทยาศาสตร์    cyperus flabelliformis Rottb.
วงศ์                    CYPERACEAE
       
           เป็นพืชจำพวกหญ้า มีเหง้าใต้ดินสั้น และแข็ง ลำเหนือดินรูปสามเหลี่ยมมน ออกเป็นกอ ตั้งตรง สูงประมาณ 1-1.5 ม. ใบเป็นแผ่นบางๆ เป็นกระจุกที่โคน ปลายลำต้นมีใบประดับรูปดาบสีเขียวสด ยาวประมาณ 30 ซม. เลียงซ้อนเป็นวงประมาณ 20 ใบ ดอกเล็กๆ สีขาวอมเขียว ก้านช่อเรียวยาวสีเขียวอ่อนมีใบประดับมาก ออกตามซอกใบ แผล่ซ้อนกัน 2 ชั้นที่ปลายต้น เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลอ่อน ผลรูปไข่ มีท่อรังไข่ติดอยู่ ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวัปแอฟริกา ขึ้นได้ตามที่ลุ่มที่น้ำท้วมถึง ห้วยหนองคลองบึงทั่วไป ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและการแยกหน่อ

หญ้ากกลังกาเป็นสมุนไพรที่หาปลูกได้ ตามพื้นที่ช่มน้ำ
สรรพคุณสมุนไพร

ต้น               รสจืด เย็น ต้มเอาน้ำดื่ม รักษาโรคท่อน้ำดีอักเสบ ขับน้ำดี
ใบ                รสเย็นเบื่อ ตำพอกฆ่าพยาธิบาดแผลต้มเอาน้ำดื่มฆ่าพยาธิ ฆ่าเชื้อโรคภายใน
ดอก              รสฝาดเย็นต้มเอาน้ำอม แก้แผลเปื่อยพุพองในปาก
เหง้า             รสขม ต้มเอาน้ำดื่ม หรือ บดเป็นผง ละลายในน้ำร้อนรับประทาน บำรุงธาตุ เจริญอาหาร
                    แก้เสมหะเฟื่อง ขับน้ำลาย
ราก               รสขมเอียนต้มดื่ม หรือตำกับเหล้า คั้นเอาน้ำมารับประทาน แก้ช้ำใน ขับโลหิตเน่าเสีย
                    แก้ตกเลือดจากอวัญวะภายใน
หญ้ากกลังกา-Umbrella Plant