Pages

Subscribe:

มะลิลา



มะลิลา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Jasminum Sambac (L.) Aiton
ชื่อสามัญ : Arabian jasmine
วงศ์ : OLEACEAE
ชื่ออื่น : มะลิ, มะลิลา (ทั่วไป), มะลิซ้อน (ภาคกลาง), มะลิขี้ไก่ (เชียงใหม่), มะลิหลวง (แม่ฮ่องสอน), มะลิป้อม (ภาคเหนือ), ข้าวแตก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), เตียมูน (ละว้า-เชียงใหม่)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
เป็นไม้พุ่ม บางพันธุ์เป็นไม้รอเลื้อย สูง 0.3-3 เมตร ใบเรียงตรงข้าม เป็นใบประกอบชนิดที่มีใบย่อย ใบเดี่ยว รูปไข่ กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ดอกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ดอกสีขาว โคนดอกติดกันเป็นหลอด สีเขียวอมเหลือง ดอกกลางบานก่อน กลีบเลี้ยงแยกเป็นส่วน 7-10 ส่วน มีขนละเอียด ยาว 2 1/2-7ซม. โคนกลีบดอกเชื่อมเป็นหลอด ยาว 7-15 มม. ส่วนปลายแยกเป็นส่วนรูปไข่ แกมรี สีขาว อาจมีสีม่วงด้านนอกหรือเมื่อดอกร่วงยาว 8-15 มม. ดอกอาจซ้อนหรือลา ผลสด (berry) สีดำ แต่ยังไม่พบใน กทม. ดอกมีกลิ่น หอม ออกดอกตลอดปี แต่ดอกมีน้อยในฤดูหนาว
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก ดอกแก่
สรรพคุณ 
          ใบ, ราก - ทำยาหยอดตา
          ดอกแก่ - เข้ายาหอม แก้หืด บำรุงหัวใจ
          ราก - ฝนรับประทาน แก้ร้อนใน, เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ ขับประจำเดือน
credit : www.rspg.or.th
          ใบ - ตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำมะพร้าวใหม่ๆ นำไปลนไฟ ทารักษาแผล ฝีพุพอง แก้ไข้ ขับน้ำนม
วิธีใช้ : ใช้ดอกแห้ง 1.5 - 3 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนดื่ม
สารที่พบ 
          ดอก พบ benzyl alcohol, benzyl alcohol ester, jasmone, linalool, linalol ester
          ใบ พบ jasminin sambacin

กระดอม

กระดอม-สมุนไพรไทย
ชื่อทั่วไป                              ขี้กาดง(สระบุรี),ผักแคบป่า (น่าน) , มะนอยจา (เหนือ),มะนอยหก,
                                           มะนอยหกฟ้า(แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ                             (ข้อมูลไม่แน่ชัด)        
ชื่อวิทยาศาสตร์                    Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz.
วงศ์                                     CUCURBITACEAE

          เป็นไม้เถาเลื้อย มีมือเกาะ เหมือนมะระขีั้นก ใบเดี่ยว เรียงสลับ หลายรุปทรง ฐานเว้าลึก รูปหัวใจ ผิวสากคาย ดอกเดี่ยว แยกเพศต่ออยู่ต้นเดียวกัน กลีบดอกมี 5 กลีบ ฐานเชือมต่อกัน กลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว ออกตามง่ามใบ ผลขนาดเท่าผลสมอไทย หัวท้ายแหลม สะนสีอ่อน 10 สัน ตามแนวหัวท้ายเมื่อสุกสีแดงสด ผลแก่และผลสุกมีพิษห้ามรับประทาน การเก็บจะเก็บลูกอ่อนมาตากแห้ง เกิดอยู่ตามที่รกร้างในป่าเขาทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด


สรรพคุณสมุนไพร

ใบ          รสขม ตำคั้นเอาน้ำหยอดตา แกตาอักเสบ รับประทานแก้พิษของ ลูกสุก
              แก้พิษบาดทะยักกำเริบเพราะรักษาผิด
ลูก         ใช้ลูกอ่อนตากแห้ง รสขม บำรุงน้ำดี แก้ดีอแห้ง ดีฝ่อ ดีเดือด คลั่งเพ้อ เจริญอาหาร ทำโลหิตให้
             เย็น ดับพิษโลหิต บำรุงมดลูก แก้ไข้รักษามดลูกหลังจากการแท้ง หรือคลอดบุตร แก้มดลูก
             อักเสบถอนพิษผิดสำแดง แก้พิษผลไม้บางชนิด
ราก        รสขมต้มรับประทานแก้ไข้ บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ดับพิษโลหิต เจริญอาหาร บดผสมน้ำร้อน
              ทาถูกนวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและอ่อนล้า

กระดังงา-กระดังงาสงขลา

กระดังงา-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                          กระดังงาไทย,กระดังงาใหญ,สะบันงา(เหนือ)
ชื่อสามัญ                         Perfume Tree, Llang-Llang, Ylang Ylang, Kennanga
ชื่อวิทยาศาสตร์                annaga odorata (Lam.) Hooker f. & Thoms.
วงศ์                                ANNONACEAE
       
            เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เปลือกต้นสีเทาเกลี้ยง ใบคล้ายใบของต้นเล็บมือนาง สีเขียวอ่อนบางนิ่มปลายแหลมโคนมนกลม ดอกเป็นกลีบยาวอ่อนมี 6 กลีบ ขอบหยักเป็นคลื่น กลีบชั้นในสั้น ดอกอ่อนสีเขียว แก่จะเป็นสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมฉุน ขยายพันธุ์โดยเมล็ดหรือกิ่งตอน
สีเหลืองมีกลืิ่นหอมและเป็นสมุนไพรชั้นดี

สรรพคุณสมุนไพร


เปลือกต้น          รสฝาดเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ท้องเสีย
เนื้อไม้               รสขมเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ
ดอก                  รสหอมสุขุม บำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงหัวใจ
น้ำมันหอม          ใช้ปรุงน้ำหอมชั้นสูงทีมีราคาแพง ใช้ปรุงขนมหรืออาหาร




กระดังงาสงขลา-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                         กระดังงาสงขลา,กระดังงาเบา,กระดังงา(ใต้)
ชื่อสามัญ                        (ข้อมูลไม่แน่ชัด)
ชื่อวิทยาศาสตร์               Cannangium fruticosum E.J.H Corner.
วงศ์                                ANNONACEAE
         
              เป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 6 ฟุต ลักษณะต้น ดอก ใบ เหมือนกระดังงาไทย แต่ต้นเล็กกว่า ดอกมีกลับมากกว่า กลีบยาวและบิดมากกว่ากระดังงาไทย ขยายพันธุ์โดยเมล็ดและกิ่งตอน


สรรพคุณสมุนไพร


ดอก          รสสุขุมหอม บำรุงหัวใจ แก้ลมวิงเวียน
เนื้อไม้       รสขมเฝื่อน ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ

กระชาย

กระชาย-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                          หัวละแอน (เหนือ) , ขิงแดง, ขิงทราย(อีสาน)
ชื่อสามัญ                         (ข้อมูลไม่แน่ชัด)
ชื่อวิทยาศาสตร์                Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr.,Gastrochilus panderata (Roxb.) Ridl.,
                                      Kaempferia pandurata Roxb.
วงศ์                                ZINGIBERACEAE
       
              เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 2-3 ฟุต มีกาบใบหุ้มลำต้นตลอด ใบมีกลิ่นหอม ดอกช่อ สีม่วงแดง มีเหง้า มีรากเก็บอาหารแยกเป้นกระเปาะจากเหง้า เรียกว่ากระโปก หรือ นมกระชาย กระชายมี 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือ กระชายเหลือง ขยายพันธุ์ โดนการแนกหน่อ
รากกระชายนำมาเป็ยยาบำรุงและสมุนไพรได้เช่นกัน

สรรพคุณสมุนไพร

เหง้า                    รสเผ็ดร้อนขม แก้โรคอันเกิดในปาก แก้มุตกิด แก้ลมบังเกิดแก่กองหทัยวาต แก้ปาก
                          เปื่อย ปากแตก เป็นแผล ขับระดูขาว แก้ใจสั่น แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิดมูกเลือด
                          แก้ปวดเบ่ง รักษาลำไส้ใหญ่อักเสบ บำรุงกำลัง
ราก                    (นมกระชาย) รสเผ็ดร้อนขม แก้กามตายด้าน ทำให้กระชุ่มกระชวน บำรุงความกำหนัด
                          มีสรรพคุณคล้ายโสม