Pages

Subscribe:

กฤษณา

ดอกกฤษณา-สมุนไพรไทย


ชื่อทั่วไป                   เนื้อไม้,ไม้หอม,กายูกาฮู,กายูการู (ปัตตานี )
ชื่อสามัญ                  Aloe Wood, Agarwood, Eagle Wood,Akyaw,Aaglia, Calambac
ชื่อวิทยาศาสตร์         Aquilaria agallocha Roxb.
วงศ์                         THYMELAEACEAE

         เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เนื้อไม้หยาบอ่อน สีขาวมีเสี้ยน ใบเดี่ยวสีเขียวเข้ม เรียบเป็นมัน ดอกช่อเล็กๆออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ กลีบดอกย่อย มี 5 กลีบสีเหลืองอมขาวดก กลิ่นหอนฉุน ผลแบนรูปรี เกิดอยู่ตามป่าดงดิบชื้น มีมากทางภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี,ตราด,สระแก้ว
          ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด นำเมล็ดที่เก็บมาใหม่ๆเพาะในกระบะทรายโดยเอาหัวขึ้น รดน้ำเช้า-เย็น เมล็ดจะงอกใน 1-2 สัปดาห์ การงอกของเมล็ดตะงอกได้ดีเมื่อเพาะหลังเก็บมาไม่เกิน 1 สัปดาห์ และจะลดลงไปเรื่อยๆ อาจไม่งอกเลย ในระยะ 1 เดือน เมื่อกล้าไม้โตพอควร จึงย้ายลงถุงย้ายไปไว้ในเรือนเพาะชำที่มีแดดรำไร เมื่อกล้าตั้งตัวดีแล้วย้ายไปปลูก หรือเปลี่ยนถุงชำตามขนาดของเกล้า เก็บไว้ปลูก การปลูกจะต้องเตรียมดินให้สามารถรักษาความชื้นไว้ได้ดี เพราะกฤษณา เป็นพืชที่ชอบความชุ่มชื้นแต่ไม่แฉะ ระยะต้นห่างกันประมาณ 2-4 เมตร และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
ต้นกล้ากฤษณา-สมุนไพรไทย
          ปัจจุบันมีสวนเกษตรของเอกชน ทำการเพาะกล้าไม้กฤษณาขาย ราคา ตั้งแต่ 25-300 บาท ตามขนาดกล้า ไม้กฤษณาในปัจจุบันในประเทศมีน้อยมาก ต้องนำเข้ามาจากเขมร,ลาว,เวียดนาม กฤษณาที่ใช้ปรุงยากันถ้าอย่างดีก็มีแก่นสารสีเข้มติดบ้างเล็กน้อยเท่านั้นเพราะเนื้อไม้หอมที่มีสีน้ำตาลเข้มถึงดำกลิ่นหอมนั้นราคากิโลกรัมละ หลายหมื่นบาทเราส่งนอกหมด เนื้อไม้หอมเกิดจาก การที่ต้นกฤษณาได้รับบาดเจ็บ อาจเกิดจากแมลงหรือการตัดฟัน ทำให้มีการขับสารน้ำมันหอมออกมาพอกตรงรอยบาดแผลเมื่อนานเข้าจะหนาขึ้นไปเรื่อยๆทำให้เปลี่ยนจากเนื้อไม้ที่เบา หนักมากขึ้น บางต้นเกิดเป็นแท่งใหญ่บางต้นไม่มีเลย ต้นกฤษณาตามธรรมชาติ ไม่ได้ให้เนื้อไม้หอมเหมือนกันทุกต้น สมัยก่อนมีการตัดฟันต้นกฤษณา ทิ้งไว้ค้างปี เนื้อไม้ผุจะมาเก็บหาเนื้อไม้หอมไปขาย ชาวฮินดูนิยมนำมาจุดไฟให้กลิ่นหอม


ลำต้นกฤษณาใช้ประโยชน์ได้เยอะเป็นยาอย่างดี


สรรพคุณสมุนไพร

เนื้อไม้             รสหอมสุขุม บำรุงโลหิต แก้ตับปอดพิการ แก้ไข้เพื่อเสมหะและลม แก้ลมวิงเวียน
                      บำรุงโลหิตในหัวใจ ทำให้หัวใจชุ่มชื้น แก้ปวดข้อ ต้มดื่มแก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ปรุง
                      เป็นยาบำรุงและรักษาโรคหัวใจ โรคลม
นำมากลั่น        จะได้น้ำมันหอม เรียกว่า Agar-atar และ Chuwah

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น